วิธีใช้งานโปรแกรมช่วยดาวน์โหลด Internet Download Manager (IDM)
ซึ่งคุณจะพบกับหน้าจอหลักของโปรแกรม ดังรูป
หลังจากที่คุณติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถเรียกเข้าโปรแกรมได้จากไอคอนของโปรแกรม ที่จะปรากฏอยู่ที่มุมขวามือด้านล่างของหน้าจอ Desktop (System Tray) หรือเรียกเข้าโปรแกรมจากทางเมนู Start / Programs / Internet Download Manager
ซึ่งคุณจะพบกับหน้าจอหลักของโปรแกรม ดังรูป

2. Resume -- เป็น ปุ่มที่ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ที่ยังดาวน์โหลดไม่เสร็จ ซึ่งอาจจะเกิดจากเน็ทหลุด หรือไฟดับ ทำให้การดาวน์โหลดขาดช่วง คุณก็สามารถใช้ปุ่มนี้ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ต่อเนื่องจากจุดที่ขาดช่วงได้ เมื่อคุณต่อเข้ามาในเน็ทอีกครั้งหนึ่ง
* ความสามารถในการดาวน์โหลดต่อเนื่องหรือ Resume นั้น ขึ้นอยู่กับ Server ที่คุณดาวน์โหลดไฟล์ด้วยว่ายินยอมหรือรองรับการดาวน์โหลดแบบต่อเนื่องหรือ ไม่ หากไม่รองรับ คุณจำเป็นต้องเริ่มดาวน์โหลดใหม่ทั้งหมด
3. Stop -- เป็น ปุ่มที่ใช้หยุดการดาวน์โหลดไฟล์ ซึ่งหาก Server ที่คุณดาวน์โหลดไฟล์ รองรับการดาวน์โหลดไฟล์แบบต่อเนื่อง (Resume) คุณก็สามารถหยุดการดาวน์โหลดเพื่อไปทำธุระ และกลับมาดาวน์โหลดต่อเมื่อมีเวลา
4. Stop All -- ทำงานเหมือนกับปุ่ม Stop แต่ใช้ในกรณีที่ต้องการหยุดการดาวน์โหลดไฟล์ ที่กำลังดาวน์โหลยู่ ณ ขณะนั้นทั้งหมด
5. Delete -- เป็น ปุ่มที่ใช้ลบรายการจากในลิสต์ดาวน์โหลดของโปรแกรม IDM (จะได้กล่าวถึงในข้อ 13.) การลบไฟล์ดังกล่าวนี้ เป็นเพียงการลบรายการจากในลิสต์รายการดาวน์โหลดของโปรแกรม IDM เท่านั้น ไม่มีผลกระทบหรือไม่ได้ลบไฟล์ที่เราได้ดาวน์โหลดมาแล้ว
6. Delete Completed Files -- ทำ งานเหมือนกับปุ่ม Delete แต่เป็นการลบรายการจากในลิสต์ดาวน์โหลดของโปรแกรม IDM ซึ่งดาวน์โหลดโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว (ที่มีสถานะเป็น Complete ซึ่งจะแสดงอยู่ในลิสต์รายการดาวน์โหลด ที่จะได้กล่าวถึงในข้อ 13.) ออกไปในคราวเดียวกัน
7. Options -- ปุ่มที่ใช้ปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม IDM (จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป)
8. Scheduler -- ปุ่ม กำหนดตารางเวลาที่จะใช้ดาวน์โหลดไฟล์ที่ยังอยู่ในคิว (Queue) ที่แสดงในหน้าต่างลิสต์รายการดาวน์โหลดของโปรแกรม IDM เช่น เมื่อคุณพบไฟล์ที่ต้องการจะดาวน์โหลด คุณอาจจะไม่ได้ทำการดาวน์โหลดในทันที (ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม)
9. Start Queue -- ปุ่มที่สั่งให้โปรแกรม IDM ดาวน์โหลดไฟล์ที่อยู่ในคิว (Queue) ซึ่งยังดาวน์โหลดไม่เสร็จ
10. Stop Queue -- ปุ่มที่สั่งให้โปรแกรม IDM หยุดการดาวน์โหลดไฟล์ที่อยู่ในคิว (Queue)
11. Tell a Friend -- ปุ่มที่ใช้เรียกโปรแกรม E-Mail จากในเครื่องของคุณ เพื่อแนะนำโปรแกรม IDM ให้กับเพื่อนของคุณทราบ
12. Categories -- การ แบ่งประเภทของไฟล์ที่อยู่ในลิสต์รายการดาวน์โหลด เช่น ไฟล์ที่โปรแกรม IDM ทำการดาวน์โหลดทั้งหมด (All Downloads) , รายชื่อไฟล์ที่ยังดาวน์โหลดไม่เสร็จ (Unfinished) , รายชื่อไฟล์ที่ดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว (Finished) นอกจากนี้ ในส่วนของรายชื่อไฟล์ที่ถูกดาวน์โหลดทั้งหมด ยังได้รับการแยกประเภทเป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัด (Compressed) ไฟล์เอกสาร (Documents) ไฟล์เสียง (Music) ไฟล์โปรแกรม (Programs) ไฟล์วีดีโอ (Video) เพื่อให้คุณสะดวกต่อการตัดสินใจดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับไฟล์แต่ละประเภทต่อไป
13. ลิสต์รายการดาวน์โหลด เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายการไฟล์ที่ถูกดาวน์โหลดโดยโปรแกรม IDM ทั้งที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว และยังไม่เรียบร้อย รวมทั้งไฟล์อยู่ในคิว
- File Name ชื่อไฟล์ที่ดาวน์โหลด
- Q หากไฟล์อยู่ในคิว (Queue) ที่จะถูกดาวน์โหลด (ไฟล์ที่ยังดาวน์โหลดไม่สมบูรณ์) จะปรากฏเป็นเครื่องหมาย +
- Size ขนาดของไฟล์ที่จะดาวน์โหลด
- Status สถานะของการดาวน์โหลด หากโหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะขึ้นเป็นคำว่า Complete แต่หากยังดาวน์โหลดไม่เสร็จ จะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของส่วนที่ดาวน์โหลดมาแล้ว
- Time-left ระยะเวลาที่คาดว่าจะดาวน์โหลดไฟล์เสร็จ (โดยประมาณ)
- Transfer rate อัตราความเร็วในการดาวน์โหลด
- Last Try … หากมีการดาวน์โหลดไฟล์ใดไฟล์หนึ่งมากกว่า 1 ครั้ง ในช่องนี้จะแสดงเป็นวันที่และเวลาในการดาวน์โหลดครั้งล่าสุด
- Description รายละเอียดของไฟล์ที่ดาวน์โหลด เช่น หากเป็นไฟล์ Mp3 ก็จะแสดงอัตราบิทเรท , ความยาวของเพลง
วิธีการดาวน์โหลดไฟล์โดยโปรแกรม IDM
การดาวน์โหลดไฟล์ในโปรแกรม IDM สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
1. เข้าไปที่หน้าจอหลักของโปรแกรม IDM จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Add URL (ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น) ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้คุณป้อน URL ของไฟล์ที่คุณต้องการจะดาวน์โหลด เช่น http://www.carabao.net/webboard/tsunami.mp3 หรือ http://www.registryfix.com/registryfix.exe




แต่ก่อน อื่นคุณต้องเข้าไปกำหนดให้ใช้ความสามารถนี้จากหน้าจอหลักของโปรแกรม IDM (กำหนดเพียงครั้งเดียว) โดยคลิกที่เมนู Downloads เลือก Options





หากคุณไม่ต้องการดาวน์โหลด ณ ขณะนั้น คุณสามรถคลิกที่ปุ่ม Download Later เพื่อเก็บไฟล์ดังกล่าวเข้าคิว (Queue) ไปทำการดาวน์โหลดเมื่อคุณมีเวลาสะดวก (คุณสามารถตั้งเวลาดาวน์โหลด ในช่วงเวลาที่คุณต้องการได้จากปุ่ม Scheduler ในหน้าจอหลักของโปรแกรม IDM ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น)
แต่หากคุณต้องการเริ่มการดาวน์โหลด ทันที ให้คุณคลิกที่ปุ่ม Start Download เพื่อเริ่มการดาวน์โหลดไฟล์ในทันที ซึ่งจะปรากฏหน้าจอแสดงการดาวน์โหลดขึ้นมาดังรูป

มีจุด สังเกตที่ควรจะกล่าวถึงเพิ่มเติมเพียงจุดเดียว คือ ในบรรทัด Resume Capability ซึ่งจะบอกข้อมูลให้คุณทราบว่า คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ดังกล่าวนี้ต่อเนื่องในภายหลังได้หรือไม่ (Yes/No) หากการดาวน์โหลดเกิดหยุดชะงักด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม
ซึ่งหากลิ้งค์ โปรแกรมที่คุณต้องการจะดาวน์โหลดไฟล์นี้ มีมากกว่า 1 ลิ้งค์ และไฟล์ที่จะดาวน์โหลดมีขนาดใหญ่ คุณอาจจะเลือกลิ้งค์ที่มีความสามารถในการดาวน์โหลดต่อเนื่องในภายหลังได้ เพื่อหากเกิุบัติเหตุที่ทำให้การดาวน์โหลดต้องหยุดชะงักลง คุณจะได้สามารถกลับมาดาวน์โหลดต่อได้ในภายหลัง
ปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม IDM ให้ตรงกับความต้องการ
โดยให้คุณเปิดหน้าจอหลักของโปรแกรม IDM ขึ้นมา จากนั้นคลิกไปที่เมนู Downloads >> Options ดังรูป


- Launch Internet Download Manager on startup -- กำหนดให้เปิดใช้งานโปรแกรม IDM ทุกครั้งที่เริ่มใช้ Windows หรือไม่
- Automatically start downloading of URLs placed to clipboard -- กำหนด ให้เมื่อมีการก๊อปปี้ข้อความใดๆ ที่ตรงกับชนิดของไฟล์ที่จะดาวน์โหลดด้วยโปรแกรม IDM ให้มีหน้าจอขึ้นมาให้ยืนยันการดาวน์โหลด (ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ในหัวข้อวิธีการดาวน์โหลดไฟล์โดยโปรแกรม IDM
- Use advanced browser integration -- ให้ โปรแกรม IDM ทำงานร่วมกับเว็บบราวเซอร์ตามที่ระบุไว้ในกรอบด้านล่างของบรรทัดนี้ (จะได้กล่าวถึงในส่วนที่ 2) ซึ่งจะอำนวยความสะดวก เมื่อคุณมีการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บบราวเซอร์ที่ถูกระบุไว้นี้ โปรแกรม IDM จะทำงานแทนระบบดาวน์โหลดของตัวเว็บบราวเซอร์ในทันทีที่มีการดาวน์โหลดเกิด ขึ้น
ในส่วนที่ 2
ชื่อโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่จะกำหนดให้ โปรแกรม IDM ทำงานร่วมด้วย ในเบื้องต้นที่กำหนดไว้ คือ IE , Mozilla, Netscape, Opera แต่หากคุณต้องการให้โปรแกรม IDM ทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ (ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะโปรแกรมประเภทบราวเซอร์เท่านั้น) เช่น เมื่อคุณดาวน์โหลดไฟล์ด้วยโปรแกรม WS_FTP คุณอาจจะต้องการให้โปรแกรม IDM ทำงานในส่วนนี้แทน ก็ให้คุณทำเครื่องหมายหน้าบรรทัด Detect new applications that try to download files from the internet
ในส่วนที่ 3
กำหนด ชนิดของไฟล์ที่จะให้โปรแกรม IDM ดาวน์โหลด ซึ่งค่าปกติที่โปรแกรม IDM เตรียมมาให้ก็มีอยู่พอสมควรแล้ว เช่น หากคุณต้องการให้โปรแกรม IDM ทำงาน เมื่อมีดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร (ที่มีนามสกุลเป็น .doc) คุณก็เพียงแค่เพิ่มคำว่า DOC ให้ต่อท้ายจากชนิดของไฟล์ตัวสุดท้ายโดยวรรคจากตัวก่อนหน้านั้น 1 วรรค (จากรูปชนิดของไฟล์ตัวสุดท้ายคือ PDF)
ในส่วนที่ 4
กำหนด รายชื่อเว็บที่คุณไม่ต้องการให้โปรแกรม IDM เป็นตัวดาวน์โหลด จากตัวอย่างในรูป เป็นเว็บอัพเดทระบบปฏิบัติการวินโดว์ (คุณสามารถใช้เครื่องหมาย * เพื่อกำหนดค่า URL เป็นช่วงกว้างๆ ได้)
2. การกำหนดค่าในแท็บ Connection

มี จุดกำหนดค่าที่สำคัญอยู่ 2 จุดที่ควรจะกล่าวถึง คือ Max. connections number ซึ่งเป็นการกำหนดคอนเน็คชั่นในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่เรากำหนดจะ ดาวน์โหลดไฟล์ (เหมือนกับการช่วยกันดาวน์โหลดไฟล์ๆ เดียวจากหลายๆ เครื่อง) โดยยิ่งเรากำหนดจำนวนคอนเน็คชั่นมาก ก็จะทำให้เราดาวน์โหลดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเพิ่มจำนวนคอนเน็คชั่นในการดาวน์โหลดมากเกินไป ก็จะสร้างภาระให้กับเซิร์ฟเวอร์ที่เราทำการดาวน์โหลดไฟล์ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ดูแลระบบหาทางป้องกันหรือจำกัดการดาวน์โหลดในครั้งต่อๆ ไป ดังนั้นค่าปกติที่ควรจะกำหนดไว้สำหรับ Max. connections number นั้น ไม่ควรจะเกิน 4
แต่หากคุณต้องการเพิ่มหรือลดจำนวนคอนเน็คชั่น โดยขึ้นอยู่กับเซิรฟ์เวอร์หรือเว็บไซท์ว่ามีความสามารถในการรองรับการแชร์ ไฟล์หรือโปรแกรมได้มากน้อยเพียงใด คุณสามารถคลิกที่ปุ่ม New ภายใต้ส่วน Exceptions: ซึ่งจะทำให้คุณสามารถกำหนดค่า Max connections สำหรับแต่ละเว็บไซท์ที่คุณต้องการจะดาวน์โหลดไฟล์ได้
3. การกำหนดค่าในแท็บ Downloads

กำหนดโฟลเร์ที่จะเก็บไฟล์แต่ละประเภท โปรแกรม IDM จะแบ่งประเภทไฟล์ออกเป็น 6 หมวดหลักๆ คือ
ไฟล์ ทั่วไป (General) , ไฟล์ที่ถูกบีบอัด (Compressed) ไฟล์เอกสาร (Documents) ไฟล์เสียง (Music) ไฟล์โปรแกรม (Programs) ไฟล์วีดีโอ (Video) ซึ่งวิธีการกำหนดโฟลเร์ที่จะจัดเก็บสำหรับไฟล์แต่ละประเภท ให้คุณคลิกเลือกหมวดในบรรทัด Category ก่อน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Browse เพื่อเลือกโฟลเร์ และปฏิบัติด้วยขั้นตอนเช่นนี้ซ้ำๆ กัน จนครบทุกประเภทของไฟล์
สำหรับในบรรทัด Remember last save path for “General” category จะเป็นการกำหนดให้โปรแกรม IDM จำค่าโฟลเร์ที่บันทึกไฟล์ที่ดาวน์โหลดสำหรับไฟล์ประเภททั่วไปครั้งสุดท้าย เอาไว้ เช่น หากคุณกำหนดโฟลเร์ที่จะเก็บไฟล์ทั่วไปไว้ในโฟลเร์ C:\GENERAL แต่ตอนที่คุณทำการดาวน์โหลดด้วยโปแกรม IDM คุณทำการเปลี่ยนโฟลเร์ที่จะจัดเก็บไฟล์ที่อยู่ในประเภททั่วไปนี้ ไปไว้ที่โฟลเร์อื่น เช่น C:\TEMP โปรแกรม IDM จะจำค่าโฟลเร์ที่เปลี่ยนไปนั้นไว้ด้วย ซึ่งเมื่อคุณดาวน์โหลดไฟล์ที่อยู่กลุ่มประเภททั่วไปนี้อีก โปรแกรม IDM ก็จะแสดงโฟลเร์ที่จะใช้จัดเก็บขึ้นมาให้เป็น C:\TEMP แทน C:\GENERAL ที่เคยกำหนดไว้
ในส่วนที่ 2
จะเป็นการกำหนดการแสดงผลหน้า จอการดาวน์โหลดของโปรแกรม IDM เช่น ให้แสดงเป็นแบบ Normal หรือ Minimize นอกจากนั้นคุณยังสามารถกำหนดให้แสดงหรือไม่แสดงหน้าจอเริ่มต้นการดาวน์โหลด (Show start download dialog) และหน้าจอหลังการดาวน์โหลดเสร็จ (Show download complete dialog)
หน้าจอเริ่มต้นการดาวน์โหลด


ในส่วนที่ 3
คุณ สามารถเลือกโปรแกรมสแกนไวรัสที่จะใช้ตรวจสอบไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม IDM ได้จากการคลิกเลือกโปรแกรมในบรรทัด Virus scanner program จากนั้นใส่พารามิเตอร์ที่จะใช้ในการสแกนไฟล์ไว้ในบรรทัด Command line parameters
กำหนดรูปแบบการแสดงผลทั่วไปของโปรแกรม IDM
ให้คุณคลิกที่เมนู View คุณจะพบกับเมนูต่างๆ ที่ใช้ปรับรูปแบบการแสดงผลของโปรแกรม IDM ดังรูป

2. Arrange files -- เลือกรูปแบบการจัดเรียงไฟล์ในลิสต์รายการดาวน์โหลดโปรแกรม เช่น เรียงตามชื่อ , เรียงตามลำดับการดาวน์โหลด ฯลฯ
3. Toolbar -- เลือก รูปแบบการแสดงทูลบาร์ (Toolbar) ที่เป็นปุ่ม Add URL, Resume, Stop, Stop All ว่าจะแสดงเป็นไอคอนขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ รวมทั้งให้แสดงผลแบบธรรมดาหรือสามมิติ (3D)
4. Customize URL List -- ปรับ แต่งการแสดงผลในหน้าต่างลิสต์รายการดาวน์โหลด เช่น จะให้ซ่อนหรือแสดง คอลัมน์ใด (File Name, Q, Size, Status) หรือจะจัดให้คอลัมน์ใยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง
5. Language -- เลือกภาษาที่จะใช้แสดงผลในโปรแกรม IDM (โปรแกรม IDM รองรับการแสดงผลภาษาไทย)
การอัพเดทโปรแกรม IDM แบบออนไลน์
คุณสามารถตรวจสอบและสั่งให้โปรแกรม IDM ทำการอัพเดทโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ได้จากเมนู Help >> Quick Update จากหน้าจอหลักของโปรแกรม

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น